ตัวแปรหลัก 6 ประการของการกำหนดยาเพื่อรักษาโรค

ตัวแปรหลัก 6 ประการของการกำหนดยาเพื่อรักษาโรค

คนส่วนใหญ่โดยทั่วไปแล้ว มักจะ รับประทานยาตามใบสังยาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น และมักจะไม่ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับรายละเอียดของยาที่รับประทานเข้าไป ทั้งนี้อาจจะเป็นความรู้เฉพาะทางของทางการแพทย์เท่านั้น ผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่ไม่มีข้อมูลในด้านการเลือกยารับประทานเพื่อรักษาโรค แต่ก็ควรจะทราบเบื้องต้นไว้บ้างก็ดี ว่าเพราะสาเหตุอะไร แทพย์ผู้เชี่ยวชาญถึงเลือกยาประเภทนี้ให้กับคุณ

ซึ่งการที่แพทย์ ได้จัดยาตามใบคำสั่งยาของแพทย์นั้นเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเลือกยาที่เหมาะสมกับสภาพของคุณระยะเวลาและปริมาณที่ดีที่สุดสำหรับร่างกายของคุณ โดยคำนึงถึงการรักษาอื่น ๆ หรือเงื่อนไขพื้นฐานที่อาจนำไปสู่ผลข้างเคียง กล่าวอีกนัยหนึ่งการสั่งจ่ายยามีความซับซ้อน

ตัวแปรหลัก 6 ประการของการกำหนดยาเพื่อรักษาโรค

เพื่อให้แน่ใจว่าการรักษาและปริมาณความปลอดภัยสำหรับคุณ แพทย์ผู้ดูแลสุขภาพของคุณจะพิจารณาข้อมูลการสั่งจ่ายยาที่พบในบรรจุภัณฑ์นอกเหนือจากปัจจัยต่อไปนี้ ก่อนส่งใบสั่งยาไปยังเภสัชกรเพื่อจัดยารักษาให้กับคุณ

  1. ส่วนสูงและน้ำหนัก

    ก็เป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดตัวยาที่จะเลือกปริมาณยาให้กับคุณ เช่นกันสำหรับเภสัชภัณฑ์ทั่วไป จะพิจารณาปริมาณความเหมาะกับคนไข้ สามารถใช้ได้ผลดีกับผู้ใหญ่ หรือเด็ก (ปริมาณยาหลายชนิดสำหรับเด็กขึ้นอยู่กับน้ำหนัก)จะได้รับการกำหนดดัชนีการรักษา ซึ่งหมายความว่าประสิทธิภาพของยาจะถูกชั่งน้ำหนักเทียบกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากนั้นจึงกำหนดปริมาณที่เหมาะสม ยาหลายชนิดมีดัชนีการรักษาที่สูงเพื่ออธิบายความแตกต่างของความสูงและน้ำหนักดังนั้น ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่จึงสามารถรับประทานยาทั่วไปได้โดยไม่ได้รับผลเสีย

  2. เพศ

    ผู้หญิงและผู้ชายนั้น ระดับการเผาผลาญของร่างกายนั้นมีความแตกต่างกัน ยกตัวอย่างยานอนหลับ การดูดซึมของยาระหว่างเพศหญิงและเพศชายนั้นก็แตกต่างกัน การดูดซึมในระบบทางเดินอาหารและการทำงานของไตก็จะแตกต่างกันไปตามเพศ เป็นต้น

  3. อายุ

    แม้ว่าขนาดร่างกายของผู้ป่วยนั้นจะแตกต่างกัน อายุก็แตกต่างกันเช่นกัน อย่างเช่นเด็กนั้นจะมีรูปร่างที่เล็กกว่า อายุน้อยกว่า การตอบสนองของยาบางชนิดก็แตกต่างกันออกไป ดังนั้นเด็กที่อายุน้อยจึงต้องได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษจากแพทย์

  4. เงื่อนไขทางการแพทย์ที่มีอยู่

    เงื่อนไขทางการแพทย์ในการจัดยาตามใบสั่งยาในปัจจุบันของผู้ป่วย จะส่งผลต่อใบสั่งยาที่แพทย์จะแนะนำ  เช่นหญิงตั้งครรภ์และต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อพิจารณาว่ายาเหมาะสมกับสถานการณ์เฉพาะหรือไม่ และที่ต้องคำนึงและระวังเป็นอย่างมากคือในผู้ป่วยโรคตับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอาการตัวเหลืองหรือโรคสมองเสื่อม เนื่องจากตับมีบทบาทอย่างมากในการเผาผลาญยาในร่างกายของเรา แพทย์จึงต้องระมัดระวัง หากคุณมีภาวะแทรกซ้อนที่ตับ และกังวลว่ายาที่รับประทานตามใบสั่งยาของแพทย์ ที่คุณรับประทานเข้าไปนั้นส่งผลต่อคุณอย่างไรให้ปรึกษาแพทย์ทันที

  1. ปฏิกิริยาระหว่างยา

    บุคคลอื่นที่มีอาการเรื้อรัง จะต้องระมัดระวังอย่างมาก เมื่อพูดถึง ปฏิกิริยาระหว่างยา  และแพทย์ ควรตระหนักดีถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เมื่อใดก็ตามที่คุณได้รับใบสั่งยาใหม่ควรพูดคุยกับแพทย์และเภสัชกรของคุณเกี่ยวกับยาและอาหารเสริมอื่น ๆ ทั้งหมดที่คุณกำลังรับประทานเข้าไป รวมถึงการรักษาที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์ มียาหลายชนิดที่ดูเหมือนจะไม่เป็นอันตราย แต่อาจจะมีปฏิกิริยาที่เป็นอันตรายกับยาบางชนิด

  1. การแพ้ยา

    ในบางคน เราพบว่าพวกเขานั้นไวต่อผลของยาบางชนิด ในทางการแพทย์เรียกว่า การแพ้ยา เมื่อผู้ป่วยมีอาการแพ้ยาบางชนิดที่ยังไม่ทราบสาเหตุนั้น เป็นความท้าทายอย่างมากของแพทย์ และคนที่แพ้ยานั้นมักมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าคนทั่วไป และหากผู้ป่วยที่ทราบดีอยู่แล้ว ตนเองนั้นมีอาการแพ้ยาอะไร ให้บอกกับแพทย์ที่ดูแลทันที เพื่อที่แพทย์จะได้จัดยาที่เหมาะสมกับโรคของคุณ